มารยาทในการนั่ง

การนั่ง

การนั่งโดยคำนึงถึงมารยาท อาจจัดเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
๑. การนั่งพับเพียบ
๒. การนั่งขัดสมาธิ
๓. การนั่งหมอบ
๔. การนั่งคุกเข่า
๕. การนั่งเก้าอี้
๖. การนั่งเล่นหรือนั่งพักผ่อน

การนั่งหมอบ
การนั่งหมอบ นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า หมอบลงไปให้ศอกข้างใดข้างหนึ่งลงถึงพื้น ถ้าขาใดแนบพื้นก็ให้ศอกข้างนั้นลงถึงพื้นด้วย มือประสานกัน ไม่ก้มหน้า สายตาทอดลงต่ำ การนั่งลักษณะนี้ใช้ได้ทั้งชาย หญิงเมื่อเข้าเฝ้า หรือรอรับเสด็จแบบไทย

การนั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง (แบบเทพบุตร)
๔. การนั่งคุกเข่า คือการนั่งย่อเข่าลงให้ติดพื้นมี ๔ แบบดังนี้คือ
๔.๑ การนั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งตัวตรง ปลายเท้าตั้ง นั่งลงบนส้นเท้า มือทั้งสองข้างคว่ำบนหน้าขาทั้งสองข้าง (แบบเทพบุตร) การนั่งลักษณะนี้ใช้นั่งเมื่อผู้ชายจะกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ หรือ ใช้นั่งในท่าถวายบังคมทั้งชายและหญิง

การนั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ (แบบเทพธิดา)
๔.๒ การนั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ นั่งตัวตรง ปลายเท้าราบ นั่งลงบนฝ่าเท้า มือทั้งสองข้างวางคว่ำบนหน้าขาทั้งสองข้าง (แบบเทพธิดา) การนั่งลักษณะนี้ใช้นั่งเมื่อผู้หญิงจะกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์
การนั่งคุกเข่าประนมมือ
๔.๓ การนั่งคุกเข่าประนมมือ คือ การนั่งคุกเข่าแบบเทพบุตร หรือ นั่งคุกเข่าแบบเทพธิดา ให้นิ้วมือแนบชิดกัน ไม่กางศอก การนั่งลักษณะนี้ใช้เมื่อกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ ในจังหวะที่ ๑ ของชายและหญิง การนั่งคุกเข่าประนมมืออีกวิธีหนึ่งคือ การนั่งคุกเข่าแบบเทพบุตร โดยประนมมือเหนืออกให้นิ้วมือแนบชิดกัน ไม่กางศอก ใช้ได้ทั้งหญิงและชาย เมื่อถวายบังคมในจังหวะที่ ๑

๔๔ การนั่งคุกเข่าแบบลูกเสือ (ถวายราชสดุดี) คือการนั่งคุกเข่าตามแบบลูกเสือที่ปฏิบัติอยู่ เมื่อประธานมีคำสั่งให้ถวายราชสดุดี แล้วก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าครึ่งก้าว คุกเข่าลง ตั้งเข่าซ้าย นั่งลงบนส้นเท้าขวา มือขวาแบคว่ำลงบนเข่าขวา แขนซ้ายวางพาดบนเข่าซ้ายเอียงไปทางขวาเล็กน้อย เมื่อร้องเพลงราชสดุดีให้ก้มหน้าเล็กน้อย และให้เงยหน้าขึ้นตามเดิมเมื่อเพลงจบ (ถ้าถือหมวกอยู่ด้วยให้ปฏิบัติตามคู่มือระเบียบแถวของสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ)

๕. การนั่งเก้าอี้
๕.๑ การนั่งเก้าอี้โดยทั่วไป คือ นั่งตามสบาย ถ้าเป็นเก้าอี้ที่มีเท้าแขนจะเอาแขนวางพาดก็ได้ ไม่ควรนั่งโยกเก้าอี้ นั่งได้ทั้งชายและหญิง เมื่อสนทนาอยู่กับเพื่อนหรือนั่งในที่ต่างๆ ที่ไม่เป็นพิธีการ
๕.๒ การนั่งเก้าอี้ต่อหน้าผู้ใหญ่ เป็นการนั่งโดยสำรวมกิริยาและสายตาตามสมควร ไม่ก้มหน้า นั่งท่าใดท่าหนึ่งดังต่อไปนี้
๕.๒.๑ นั่งเก้าอี้ตัวตรง หลังไม่พิงพนักเก้าอี้ มือทั้งสองข้างประสานกันวางบนหน้าขา
ในกรณีที่มีการสวดถวายอติเรกหรือถวายพระพรลา ผู้อยู่ในที่เฝ้าไม่ต้องประนมมือ เพราะเป็นการสวดถวายพระพรที่เจาะจงเฉพาะพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

การพับเพียบต่อหน้าผู้ใหญ่
๖. การนั่งเล่นหรือนั่งพักผ่อน คือ การนั่งในกิริยาบถตามสบาย จะนั่งในลักษณะใดก็ได้ตามความพอใจ เช่น นั่งกับพื้น แต่เมื่อผู้ใหญ่ผ่านเข้ามาในที่นั้นควรนั่งสำรวม ไม่ไขว่ห้าง ไม่กระดิกเท้าหรือเหยียดเท้าไปทางผู้ใหญ่
๑. การนั่งพับเพียบ คือการนั่งราบกับพื้น พับขา ให้ขาขวา ทับขาซ้าย หรือขาซ้ายทับขาขวา อาจแบ่งออกได้เป็น ๔ อย่าง ดังต่อไปนี้
๑.๑ การนั่งพับเพียบธรรมดา คือ การนั่งพับเพียบวางมือไว้บนหน้าขา หรือเอามือท้าวพื้นก็ได้ โดยให้ปลายนิ้วมือเหยียดไปข้างหน้า ถ้านั่งขาขวาทับขาซ้ายให้ใช้มือซ้ายท้าวพื้น ถ้านั่งขาซ้ายทับขาขวาให้ใช้มือขวาท้าวพื้นอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่สะดวกและเหมะสม ลักษณะนี้ใช้ในการนั่งสนทนากับเพื่อนหรือนั่งอยู่ตามลำพัง

การนั่งพับเพียบธรรมดา
๑.๒ การนั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ใหญ่ อาจนั่งท่าใดท่าหนึ่งตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรท้าวแขน สายตาทอดลงเล็กน้อย และไม่จ้องตาผู้ใหญ่จนเสียกิริยา การนั่งลักษณะนี้ใช้ได้ทั้งชายและหญิง คือ

นั่งพับเพียบตัวตรง
๑.๒.๑ นั่งพับเพียบ ตัวตรง เก็บปลายเท้าโดยเบนปลายเท้าเข้าหาสะโพก มือทั้งสองข้างประสานกันวางไว้บนหน้าขา ถ้านั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้าย วางมือที่ประสานบนหน้าขาซ้าย ถ้านั่งพับเพียบขาซ้ายทับขาขวาวางมือที่ประสานบนหน้าขาขวา หรือบริเวณหน้าขาจุดใดจุดหนึ่งที่เหมาะสมและสวยงาม
วิธีประสานมือ ให้ปฏิบัติในอาการที่สำรวม อาจใช้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
ใช้มือซ้ายหงาย มือขวาคว่ำทับ หรือมือขวาหงายมือซ้ายคว่ำทับ
ใช้มือทั้งสองคว่ำทับกัน จะเป็นมือใดทับมือใดก็ได้
สอดนิ้วระหว่างช่องนิ้วของแต่ละมือ คล้ายการประนมมืออย่างหลวมๆ
ถ้าเป็นการเข้าพบผู้ใหญ่เพื่อนำของไปให้ หรือเมื่อสนทนากับผู้ใหญ่แล้วผู้ใหญ่ให้ของ ควรจะนั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้าย เพื่อสะดวกในการรับของจากผู้ใหญ่ เพราะเราจะส่งของหรือรับของกันด้วยมือขวา
๑.๒.๒ นั่งพับเพียบค้อมตัวเก็บปลายเท้า วางแขนทั้งสองข้างลงบนหน้าขา มือประสานกันอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ ๑.๒.๑
๑.๓ การนั่งพับเพียบประนมมือ คือ การนั่งพับเพียบโดยประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่กางศอก การนั่งลักษณะนี้ใช้ในโอกาสที่นั่งฟังพระเทศน์ ฟังพระสวดมนต์ เมื่อตนเองสวดมนต์รับฟังโอวาท หรือรับพรจากผู้ใหญ่ ใช้ได้ทั้งชายและหญิง
๑.๔ การนั่งพับเพียบในพิธีการ คือ การนั่งพับเพียบในอาการสำรวมตลอดเวลา
หมายเหตุ ขณะที่นั่งพับเพียบดังกล่าวตามข้อ ๑.๒.๑ และ ๑.๔ ข้างต้น ไม่ควรพูดคุยหรือส่งเสียงดังถ้านั่งนานและประสงค์จะเปลี่ยนท่านั่ง ให้ใช้มือทั้งสองข้างท้าวพื้นหรือเข่า ปล่อยนิ้วมือเหยียดไปข้างหน้า กดเข่าทั้งสองกับพื้นแล้วเปลี่ยนท่านั่งตามสะดวก

๒ การนั่งขัดสมาธิ (สะหมาด) คือการนั่งตามสบายอย่างหนึ่งและการนั่งแบบทำสมาธิ
การนั่งขัดสมาธิธรรมดา คือ การนั่งบนพื้น คู้เข่าทังสองข้างหาตัว แนบขาลงกับพื้น โดยให้ขาข้างหนึ่งช้อนทับอยู่บนอีกข้างหนึ่ง ส้นเท้าทั้งสองข้างจะสัมผัสกับขา เป็นอิริยาบถที่ใช้นั่งตามลำพังสบายๆ หรือ สำหรับชายนั่งกับพื้นรับประทานอาหาร
การนั่งขัดสมาธิที่ใช้ในทางศาสนา มี ๒ แบบ คือ การนั่งขัดสมาธิราบ และการนั่งขัดสมาธิเพชร
การนั่งขัดสมาธิราบ คือ การนั่งขัดสมาธิสองชั้น โดยเอาขาซ้อนทับกัน เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วหัวแม่มือจรดกัน ตั้งกายส่วนบนให้ตรง การนั่งขัดสมาธิราบนี้ใช้นั่งในการเจริญภาวนาทำจิตใจให้สงบ ซึ่งเป็นการปฏิบัติกรรมฐานเมื่อนั่งแบบนี้จะมีผลให้เนื้อหนังและเอ็นไม่ขด แม้นั่งนานทุกขเวทนาก็จะไม่บังเกิดขึ้น การบำเพ็ญภาวนาทางจิตใจจะได้ผล

การนั่งขัดสมาธิเพชร คือ การนั่งขัดสมาธิโดยคู้เข่าทั้งสองข้าง เอาฝ่าเท้าทั้งสองขัดหรือไขว้ขึ้นวางบนหน้าขา ท่านั่งขัดสมาธิแบบนี้ต้องใช้การฝึกหัดให้เกิดความชำนาญ โดยการหัดนั่งขัดสมาธิราบ หรือขัดสมาธิสองชั้นได้ชำนาญแล้ว

วิธีฝึกหัด ให้นั่งลงบนพื้น ปล่อยให้ขาพักอยู่ตรงหน้าแล้วจึงค่อยดึงขาซ้ายงอมุมฉากกับร่างกาย ใช้ส้นเท้าซ้ายนั้นพักอยู่บนพื้น แล้วจับเท้าขวาขึ้นวาง บนต้นขาซ้าย ให้ส้นเท้าขวาชิดกับหน้าขา อย่าให้เท้าขวาเป็นที่ทรมานหรืออืดอัด ขยับเข่าซ้ายที่งออยู่ให้เข้ามาชิดตัว ยกข้อเท้าซ้ายขึ้นแล้ววางหลังมือซ้ายลงบนต้นขาขวา ให้ส้นเท้าจรดกับหน้าขาขวา เมื่อขัดสมาธิแบบนี้ได้แล้วยืดกายท่อนบนให้ตรงแบบนั่งขัดสมาธิราบ นั่งขัดสมาธิแบบนี้เรียกว่า “ขัดสมาธิเพชร” หรือเรียกว่า “นั่งท่าดอกบัว”(ปัทมาสนะ) ใช้นั่งบริกรรมภาวนา หรือ ปฏิบัติโยคะ